ผิดพลาดกันได้ ไม่สายที่จะเรียนรู้

      ปิดความเห็น บน ผิดพลาดกันได้ ไม่สายที่จะเรียนรู้

    มีตัวแทนพระองค์ไปเยี่ยมราษฎรตามถิ่นทุรกันดาร   ในครั้งนั้นเป็นการแสดงสินค้าต่างๆ ของชาวบ้าน   มีทั้งเครื่องใช้   อาหาร   ผลไม้  เป็นต้น    แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้มาต้อนรับกังวลก็คือการใช้ราชาศัพท์    เพราะชาวบ้านไม่รู้ว่า   จะพูดและปฏิบัติตัวอย่างไรต่อคณะที่เป็นตัวแทนพระองค์     
     แต่เพื่อเป็นการสร้างความมั่นอกมั่นใจให้กับตัวเอง   ชาวบ้านต่างก็ทำการบ้านพอสมควร   คือมีการฝึกใช้ราชาศัพท์บ่อยๆ โดยการจำอวดมาจากลิเกบ้าง   จดจำจากละครจักรๆ วงศ์บ้าง    
     หลังทำพิธีต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว   ตัวแทนพระองค์และคณะก็เดินดูสินค้าของชาวบ้าน    ที่นำมาจำหน่ายแก่ผู้มาร่วมงาน   เผอิญมาหยุดที่คุณยายขายปลาคนหนึ่ง   ปลาของยายมีหลายกะละมัง   จึงถามยายว่า
     “ยาย   ปลากะละมังนี้ขายยังไงจ๊ะ?”
     “ขอถวายพระพรเพคะ   ปลาที่ทรงยังพระชนม์อยู่นี้   ที่กำลังเสด็จไปเสด็จมากิโลละ ๘๐ บาทเพคะ”   ยายตอบแบบไม่ค่อยมั่นใจนัก
     “ยาย   แล้วกะละมังนี้ล่ะ   ขายยังไงจ๊ะ?”   
     “ขอถวายพระพรเพคะ  ปลาที่ทรงพระอาการประชวรร่อแร่อยู่นี้  กิโลละ ๗๐ บาทเพคะ”   
     ยายตอบไปด้วยอาการประหวั่นพรั่นพรึงต่อคำตอบที่กล่าวออกไป
     “ยาย   แล้วกะละมังนี้ล่ะ   ขายยังไงจ๊ะ?”
     ยายเห็นว่าไม่มีใครท้วงติงในการพูด   ทำให้เกิดความภูมิใจว่าตัวเองพูดถูก    จึงตอบอย่างฉะฉานและมั่นใจ
     “ขอถวายพระพรเพคะ   ปลาที่ทรงสวรรคตแล้วนี้   กิโลละ ๖๐ บาทเพคะ”   
     พอมาถึงปลาที่กำลังย่างอยู่      ตัวแทนพระองค์ก็ถามยายพร้อมด้วยรอยยิ้มว่า
     “ยาย   แล้วปลานี้ล่ะขายยังไงจ๊ะ ?”
     “ขอถวายพระพรเพคะ   ปลาที่ทรงถวายพระเพลิงอยู่นี้   ไม้ละ ๕๐ บาทเพคะ”   
     พอพูดจบเท่านั้นแหละ  พวกที่ตามเสด็จอดใจไม่ไหว  ปล่อยก๊ากทันที  เพราะทนไม่ไหวแล้ว    หัวเราะตัวงอไปตามๆ กัน 

เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....