คำอธิบายสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3

      ปิดความเห็น บน คำอธิบายสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3

คำอธิบายสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑                               

                        ศึกษา วิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติ สร้างความคิดรวบยอด นำภูมิปัญญาท้องถิ่น สภาพปัญหาชีวิต สภาพแวดล้อมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักและเห็น    คุณค่าในเรื่องต่อไปนี้

                        พระพุทธ เกี่ยวกับประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา ในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติไทย  พุทธประวัติ  การประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน  ชาดก เรื่องวัณณุปถชาดก สุวัณณสามชาดก วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ประวัติเบื้องต้นและการเข้าร่วมกิจกรรมในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา    วันอัฏฐมีบูชา  วันอาสาฬหบูชา   ศึกษาประวัติศาสนวัตถุ  ศาสนสถานในท้องถิ่น

                        พระธรรม  เกี่ยวกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่อง ศรัทธา พระรัตนตรัย โอวาท ๓ การไม่ทำชั่ว (เบญจศีล) ทำความดี(เบญจธรรม สังคหวัตถุ ๔ กตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่และครอบครัว
มงคล ๓๘ ในเรื่อง ทำตัวดี ว่าง่าย รับใช้พ่อแม่) ทำจิตให้บริสุทธิ์(บริหารจิตและเจริญปัญญา)
พุทธศาสนสุภาษิต คือ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ (ตนแลเป็นที่พึ่งของตน) และ มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร (มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน)  พระไตรปิฎก แนะนำพระไตรปิฎก เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก (พระสารีบุตรโปรดมารดา)   ศัพท์ทางพระพุทธศาสนา คือ พระภิกษุ สมณะ พราหมณ์  การบริหารจิตและเจริญปัญญา ฝึกสวดมนต์ แผ่เมตตา  ความหมายและประโยชน์ของสติ ฝึกฟังเพลง ร้องเพลง เล่น และทำงานอย่างมีสติ ฝึกให้มีสติในการฟัง  การอ่าน การคิด การถาม และการเขียน

                        พระสงฆ์ เกี่ยวกับประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา คือ สามเณรบัณฑิต หน้าที่ชาวพุทธ  อานิสงส์ของการสวดมนต์ การช่วยเหลือบำรุงรักษาวัด การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ฝึกปฏิบัติรรยาท
ชาวพุทธและการปฏิบัติตนต่อพระภิกษุในเรื่อง การพนมมือ การไหว้ การกราบ การนั่ง การลุกขึ้นยืนรับ
มรรยาทการสนทนา และการปฏิบัติตน ศึกษากรณีชาวพุทธตัวอย่าง คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดช  เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี(หนูพร้อม) และชาวพุทธตัวอย่างในชุมชน ศึกษาศาสนพิธี เรื่อง การบูชาพระรัตนตรัย การปฏิบัติตนต่อศาสนวัตถุ ศาสนสถาน แนวประพฤติปฏิบัติตนในศาสนพิธี และ   พิธีกรรมของชุมชนในท้องถิ่น

                        เพื่อให้เกิดศรัทธาพระรัตนตรัย รักการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรมในการอยู่ร่วมกัน และสามารถนำหลักธรรมไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้   การทำงานอย่างมีคุณค่าต่อชีวิตตนเองและสังคมโดยส่วนรวม

 

คำอธิบายสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

                        ศึกษา วิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติ สร้างความคิดรวบยอด นำภูมิปัญญาท้องถิ่น สภาพปัญหาชีวิต สภาพแวดล้อมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนัก และเห็น     คุณค่าในเรื่องต่อไปนี้

                        พระพุทธ เกี่ยวกับประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา ในฐานะเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย พุทธประวัติ สรุปพุทธประวัติเหตุการณ์หลังประสูติ แรกนาขวัญ การศึกษา การอภิเษกสมรส
เทวทูต ๔ การออกผนวช  ชาดก เรื่องวรุณชาดก วานรินทชาดก วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ประวัติ และการเข้าร่วมกิจกรรมและพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา  ศึกษาประวัติความสำคัญของศาสนวัตถุและศาสนสถานในท้องถิ่น

                        พระธรรม เกี่ยวกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่องศรัทธา พระรัตนตรัย โอวาท ๓   การไม่ทำชั่ว(เบญจศีล) ทำความดี(เบญจธรรม หิริ-โอตตัปปะ สังคหวัตถุ ๔  ฆราวาสธรรม ๔ กตัญญูกตเวทีต่อครูอาจารย์และโรงเรียน มงคล ๓๘ ในเรื่อง กตัญญู สงเคราะห์ญาติพี่น้อง) ทำจิตให้บริสุทธิ์(บริหารจิตและเจริญปัญญา) พุทธศาสนสุภาษิต คือ นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺูกตเวทิตา(ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี) พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร(มารดาบิดาเป็นพรหมของบุตร) พระไตรปิฎก      แนะนำพระไตรปิฎก  เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก (วิธีปฏิบัติเมื่อถูกว่าร้าย)  ศัพท์ทางพระพุทธศาสนา คือ ผู้วิเศษ พระอริยะ  ารบริหารจิตและเจริญปัญญา ฝึกสวดมนต์ไหว้พระและแผ่เมตตา ความหมายและประโยชน์ของสติและสมาธิ ฝึกสติสมาธิเบื้องต้น กิจกรรมการเคลื่อนไหวอย่างมีสติ ฝึกให้มีสมาธิในการฟัง การคิด การถาม และการเขียน

                        พระสงฆ์ เกี่ยวกับประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา เรื่อง สามเณรราหุล  หน้าที่ชาวพุทธ การปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อพระรัตนตรัย การทำบุญให้ทาน การรู้จักสนทนาและการปฏิบัติตนต่อพระภิกษุ การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ มรรยาทชาวพุทธและการปฏิบัติตนต่อพระภิกษุ ฝึกปฏิบัติในเรื่องการพนมมือ การไหว้ การกราบ การนั่ง การยืน การเดิน การสำรวมระวัง การปฏิบัติตนเมื่ออยู่ในวัดและพุทธสถาน การร่วมพิธีกรรมเบื้องต้น ศึกษากรณีชาวพุทธตัวอย่าง เรื่อง สมเด็จพระญาณสังวร (ศุข ไก่เถื่อน) สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) และชาวพุทธตัวอย่างในชุมชน  ศึกษาศาสนพิธี เรื่อง ระเบียบพิธีการบูชาพระรัตนตรัย การทำบุญตักบาตร การปฏิบัติตนต่อศาสนวัตถุ                ศาสนสถาน แนวประพฤติ ปฏิบัติตนในศาสนพิธีและพิธีกรรมของชุมชนในท้องถิ่น

                        เพื่อให้เกิดศรัทธาอย่างยิ่งต่อพระรัตนตรัยและรักการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคม และสามารถนำหลักธรรมไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้   การทำงานอย่างมีคุณค่าต่อชีวิตตนเองและสังคมโดยส่วนรวม

 

คำอธิบายสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

                        ศึกษา วิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติ สร้างความคิดรวบยอด นำภูมิปัญญาท้องถิ่น สภาพปัญหาชีวิต สภาพแวดล้อมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักและเห็น     คุณค่าในเรื่องต่อไปนี้

                        พระพุทธ เกี่ยวกับประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา ในฐานะเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทย พุทธประวัติ สรุปพุทธประวัติ การบำเพ็ญเพียร ผจญมาร ตรัสรู้ ปฐมเทศนา ปรินิพพาน ชาดก เรื่องอารามทูสกชาดก มหาวาณิชชาดก  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  ความสำคัญและหลักปฏิบัติใน วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา  ศึกษาประวัติ  ความสำคัญของศาสนวัตถุและ
ศาสนสถานในท้องถิ่น

                        พระธรรม เกี่ยวกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่อง ศรัทธา พระรัตนตรัย โอวาท ๓   การไม่ทำชั่ว(เบญจศีล) ทำความดี(เบญจธรรม สติ-สัมปชัญญะ สังคหวัตถุ ๔ ฆราวาสธรรม ๔ อัตถะ ๓    (อัตตัตถะ ปรัตถะ อุภยัตถะ)  กตัญญูกตเวทีต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม มงคล ๓๘ ในเรื่อง รู้จักให้ พูดไพเราะ     อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี) ทำจิตให้บริสุทธิ์(บริหารจิตและเจริญปัญญา) พุทธศาสนสุภาษิต คือ ททมาโน           ปิโย โหติ (ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก) โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ(เปล่งวาจาไพเราะให้สำเร็จประโยชน์)  พระไตรปิฎก แนะนำพระไตรปิฎก เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก (รักสนุกจะทุกข์ถนัด)  ศัพท์ทางพระพุทธศาสนา คือ      พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธะ พระอนุพุทธะ การบริหารจิตและเจริญปัญญาในเรื่องการฝึกสวดมนต์ไหว้พระสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย แผ่เมตตา ความหมายและประโยชน์ของสติสัมปชัญญะ ประโยชน์ของการฝึกสติ ฝึกสมาธิเบื้องต้นด้วยการนับลมหายใจ ฝึกการยืน การเดิน การนั่ง และการนอนอย่างมีสติ   ฝึกให้มีสมาธิในการฟัง การอ่าน การคิด การถาม และการเขียน

                        พระสงฆ์ เกี่ยวกับประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา  เรื่อง  สามเณรสังกิจจะ  หน้าที่ชาวพุทธ เรื่องการไหว้พระสวดมนต์ การไปวัด ประโยชน์ของวัด การศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์ การแต่งกายที่เหมาะสมและการสำรวมระวัง การถวายสิ่งของที่เหมาะสมแก่พระภิกษุ การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ รรยาทชาวพุทธและการปฏิบัติตนต่อพระภิกษุ ฝึกปฏิบัติในเรื่องการไหว้ การกราบ การต้อนรับ การรับ-ส่งสิ่งของแก่พระภิกษุ และศึกษากรณีชาวพุทธตัวอย่าง เรื่อง สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี) สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และชาวพุทธตัวอย่างในชุมชน  ศึกษาศาสนพิธี เรื่องการอาราธนาศีล การสมาทานศีล การจัดโต๊ะหมู่บูชา เครื่องประกอบโต๊ะหมู่บูชา การประพฤติปฏิบัติตนในศาสนพิธีและพิธีกรรมของชุมชนในท้องถิ่น

                        เพื่อให้เกิดศรัทธาอย่างยิ่งต่อพระรัตนตรัยและรักการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคม และสามารถนำหลักธรรมไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้   การทำงานอย่างมีคุณค่าต่อชีวิตตนเองและสังคมโดยส่วนรวม

 

ผลการเรียนรู้สาระพระพุทธศาสนา  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑

                        รู้ และเข้าใจ ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา พุทธประวัติ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา พุทธศาสนสุภาษิต พระไตรปิฎก เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก ศัพท์ทางพระพุทธศาสนา  ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา ชาดก  หน้าที่ชาวพุทธ มรรยาทชาวพุทธและการปฏิบัติตนต่อพระภิกษุ ชาวพุทธตัวอย่าง การบริหารจิตและเจริญปัญญา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ศาสนพิธี  เห็นคุณค่าและศรัทธาในพระรัตนตรัย มีนิสัยดี เห็นคุณค่าและอนุรักษ์ศาสนวัตถุ ศาสนสถานในท้องถิ่น  ปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มีสติในการเรียนรู้ การทำงาน  การอยู่ร่วมกัน และการดำเนินชีวิต

 

ผลการเรียนรู้สาระพระพุทธศาสนา  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

                        รู้ และเข้าใจ ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา พุทธประวัติ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา พุทธศาสนสุภาษิต พระไตรปิฎก เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก ศัพท์ทางพระพุทธศาสนา  ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา ชาดก  หน้าที่ชาวพุทธ มรรยาทชาวพุทธและการปฏิบัติตนต่อพระภิกษุ ชาวพุทธตัวอย่าง การบริหารจิตและเจริญปัญญา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ศาสนพิธี  เห็นคุณค่าและศรัทธาในพระรัตนตรัย มีนิสัยดี เห็นคุณค่าและอนุรักษ์ศาสนวัตถุ ศาสนสถานในท้องถิ่น  ปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา  มีสติ สมาธิในการเรียนรู้   การทำงาน  การอยู่ร่วมกัน และการดำเนินชีวิต

 

ผลการเรียนรู้สาระพระพุทธศาสนา  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

                        รู้ และเข้าใจ ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา พุทธประวัติ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา พุทธศาสนสุภาษิต  พระไตรปิฎก เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก ศัพท์ทางพระพุทธศาสนา  ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา ชาดก  หน้าที่ชาวพุทธ มรรยาทชาวพุทธและการปฏิบัติตนต่อพระภิกษุ ชาวพุทธตัวอย่าง การบริหารจิตและเจริญปัญญา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ศาสนพิธี  เห็นคุณค่าและศรัทธาในพระรัตนตรัย มีนิสัยดี เห็นคุณค่าและอนุรักษ์ศาสนวัตถุ ศาสนสถานในท้องถิ่น  ปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มีสติสัมปชัญญะในการเรียนรู้ การทำงาน  การอยู่ร่วมกัน และการดำเนินชีวิต

เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....