มีพราหมณ์อักโกสโกรธแค้นพระพุทธเจ้ามาก ที่สามารถเทศนาจนเพื่อนพราหณ์ทีรักใคร่ของเขาคนหนึ่งชื่อ "ภาวทวาชโคตร “เลื่อมใสจนออกบวชเขาจึงผูกใจเจ็บแต่นั้นมา จนวันหนึ่งเขาอดกลั้นความโกรธไม่ไหว จึงตามมาด่าพระพุทธเจ้าถึงสำนัก เขาด่าอย่างหยาบคายต่าง ๆ นานาสารพัด พระพุทธเจ้าก็นั่งฟังเฉยไม่ทรงโต้ตอบแม้แต่คำเดียว เขาด่าจนเหนื่อยหอบหมอแรงจึงได้หยุด พระพุทธเจ้าจึงทรงถามเขาว่า
"อักโกส เคยมีมิตร อำมาตย์ ญาติสายโลหิต เป็นแขกมาบ้านเรือนของท่านบ้างไหม"
"เคยมี" เขาตอบห้วน ๆ
"ท่านเคยจัดอาหารคาวหวาน รับรองเลี้ยงดูแขกเหรื่อเหล่านั้นบ้างไหม ?"
"เคยจัด" เขาตอบอย่างเสียไม่ได้
"ถ้าแขกเหล่านั้น ไม่บริโภคอาหารที่ท่านนำมารับรอง อาหารเหล่านั้นท่านจะเอาไปให้ใคร ?"
"ผมก็บริโภคเองนะสิ จะเอาไปให้ใครที่ไหน"
"เรื่องนี้ก็เช่นกันอักโกส ท่านด่าเราผู้ไม่ด่าตอบ ท่านโกรธเรา ผู้ไม่โกรธตอบ เราไม่รับคำด่าและความโกรธที่ท่านให้ เรา คำด่าและความโกรธนั้น ก็เป็นของเท่านแต่ผู้เดียว
"อันโกส ผู้ใดด่าตอบบุคคลผู้กำลังด่าอยู่ โกรธตอบบุคคลที่กำลังโกรธอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าบริโภคอาหารของความ โกรธร่วมกัน ส่วนเรานั้นไม่ขอบริโภคร่วมด้วย"
สุดท้ายพราหมณ์อักโกสก็หายโกรธเป็นปลิดทิ้ง เขาเกิดความเสื่อมใสทูลขอบวชต่อพระพุทธเจ้า
พระอักโกสบวชแล้วไม่นานก็บำเพ็ญธรรมจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในโลก
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า”เรื่องอะไรก็ตามที่คนอื่นไม่พอใจเรา แล้วออกมาว่า หรือ ด่าเรา แต่ถ้าเราไม่เอามาเป็นอารมณ์แล้วสิ่งที่เขาว่าเราก็จะกลับย้อนไปสู่ตัวของเขาเอง”
บทสนทนาของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน