วิธีไหว้พระ
คำสวดมนต์ไหว้พระ (แปล)
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งเป็นที่พึ่งที่นับถือของเรา ทั้งหลาย, พระองค์เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเองแล้ว, ละกิเลสขาดจากสันดานกับทั้งวาสนา, เป็นผู้ไม่หลงมีความไม่หลงเป็นธรรมดา, ตรัสรู้อริยสัจ ๔ แจ้งประจักษ์โดยลำพังพระองค์เอง, ตรัสรู้ชอบไม่วิปริตสอนผู้อื่นให้ตรัสรู้ได้ด้วย, เราทั้งหลายขอนมัสการกราบไหว้พระผู้มีพระ ภาคพุทธเจ้า, อะระหังสัมมาสัมพุทโธพระองค์นั้น, มีพระสถูปและพระพุทธรูปนี้เป็นพยาน, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ, (กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว, แสดงหนทาง อันดับกิเลสและกองทุกข์, ให้ผู้ปฏิบัติตามถึงความสิ้นทุกข์ได้โดยชอบ, เราทั้งหลายขอนมัสการ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว, ธัมมัง นะมัสสามิ, (กราบ)
สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, หมู่สงฆ์สาวกที่พระผู้มีพระภาคเจ้าสอนให้ ปฏิบัติดีแล้ว, ได้ปัญญาตรัสรู้อริยสัจ ๔ ทำกิเลสในสันดานให้สิ้นไป, ตามกำลังอริยมรรคที่ได้ เกิดขึ้นแล้วในสันดานตน, ความละกิเลสได้จริงเป็นการปฏิบัติชอบแท้, เราทั้งหลายขอนอบ น้อมหมู่สงฆ์สาวก, ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าสอนให้ปฏิบัติดีแล้ว, สังฆัง นะมามิ, (กราบ)
ทำวัตรเช้า เวลา ๑๐.๐๐ น.
(นำ) อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ (กราบ)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
โย โส ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู, อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา, โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพรัหมะกัง, สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ, โย ธัมมัง เทเสสิ อาทิกัลยาณัง มัชเฌกัลยาณัง ปะริโยสานะกัลยาณัง, สาตถัง สะพะยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พรัหมะจะริยัง ปะกาเสสิ, ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ, ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ ฯ (กราบ)
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ, ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ, ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ ฯ (กราบ)
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย, อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ, ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ, ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ ฯ (กราบ)
(นั่งพับเพียบ)
(นำ) หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะ สังเวคะวัตถุปะริทีปะกะ ปาฐัญจะ ภะณามะ เส
(ถ้าจะสวดครึ่งเดียว คือ ลงแค่ ปะภาวะสิทธิยา ไม่ต่อ อิธะ ตะถาคะโต ก็นำเพียงครึ่ง เดียวว่า หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย ภะณามะ เส )
(รับ) พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว, โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน, โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก, วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง, ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน, โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก, โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง, สังโฆ สุเขตตาภะยะติเขตตะสัญญิโต, โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก, โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส, วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง, อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง, วัตถุตตะยัง วันทะยะตา ภิสังขะตัง, ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา, มาโหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา ฯ
(ถ้ามีเวลาพอให้สวด สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐะ ต่อไปนี้)
อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต, มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ, ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา, อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะละภะติ ตัมปิ ทุกขัง, สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา, เสยยะถีทัง, รูปูปาทานักขันโธ, เวทะนูปาทานักขันโธ, สัญญูปาทานักขันโธ, สังขารูปาทานักขันโธ, วิญญาณูปาทานักขันโธ, เยสัง ปะริญญายะ, ธะระมาโน โส ภะคะวา, เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ, เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ, รูปัง อะนิจจัง, เวทะนา อะนิจจา, สัญญา อะนิจจา, สังขารา อะนิจจา, วิญญาณัง อะนิจจัง, รูปัง อะนัตตา, เวทะนา อะนัตตา, สัญญา อะนัตตา, สังขารา อะนัตตา, วิญญาณัง อะนัตตา, สัพเพ สังขารา อะนิจจา, สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ, เต (ตา) มะยัง โอติณณามะหะ ชาติยา ชะรามะระเณนะ, โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, ทุกโขติณณา ทุกขะปะเรตา, อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ.
(สำหรับพระ) จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง, สัทธา อะคารัสมา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา, ตัสมิง ภะคะวะติ พรัหมะจะริยัง จะรามะ, ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา, ตัง โน พรัหมะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ ฯ
(สามเณรสวด พึงละคำว่า ภิกขูนังสิกขาสาชีวะสะมาปันนา ที่ขีดเส้นใต้ออกเสีย)
(ถ้าคฤหัสถ์สวด ตั้งแต่ อิธะ ตะถาคะโต จนถึง ปัญญาเยถาติ แล้วสวดดังนี้)
(สำหรับโยม) จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง, ยะถาสะติ ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ, อะนุปะฏิปัชชามะ, สา สา โน ปะฏิปัตติ, อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ ฯ
(อนึ่ง ถ้าสตรีสวด เต มะยัง นั้นให้แปลงเป็น ตา มะยัง)
อภิณหะปัจจะเวกขะณะ
ชะราธัมโมมหิ ชะรัง อะนะตีโต, (ตา)
เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้
พะยาธิธัมโมมหิ พะยาธิง อะนะตีโต, (ตา)
เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้
มะระณะธัมโมมหิ มะระณัง อะนะตีโต, (ตา)
เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้
สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโว,
เราจะละเว้นเป็นต่าง ๆ คือว่าจะต้องได้พลัดพรากจากของรัก ของเจริญใจ
ทั้งสิ้นไป
กัมมัสสะโกมหิ กัมมะทายาโท กัมมะโยนิ กัมมะพันธุ กัมมะปะฏิสะระโณ,
เรามีกรรมเป็นของ ๆ ตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรม
เป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
ยัง กัมมัง กะริสสามิ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะทายาโท ภะวิสสามิ,
เราจะทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เราจะเป็นทายาท คือว่า
จะต้องได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป
เอวัง อัมเหหิ อะภิณหังปัจจะเวกขิตัพพัง.
เราทั้งหลายควรพิจารณาอย่างนี้ทุกวัน ๆ เถิด.
แผ่เมตตาตน
อะหัง สุขิโต โหมิ, นิททุกโข โหมิ, อะเวโร โหมิ,
อัพยาปัชโฌ โหมิ , อะนีโฆ โหมิ, สุขีอัตตานัง ปะริหะรามิ.
แผ่เมตตาสัตว์
สัพเพ สัตตา สุขิตาโหนตุ, สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ, สัพเพ สัตตา อัพยาปัชฌา โหนตุ, สัพเพ สัตตา อะนีฆา โหนตุ, สัพเพ สัตตา สุขีอัตตานังปะริหะรันตุ, สัพเพ สัตตา สัพพะทุกขา ปะมุจจันตุ, สัพเพ สัตตา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ, สัพเพ สัตตา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนิ กัมมะพันธุ กัมมะปะฏิสะระณา, ยัง กัมมัง กะริสสันติ, กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา, ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ.
แผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศล
สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ, อะเวรา สุขะชีวิโน,
ขอให้สัตว์ทั้งหลาย อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย จงเป็นผู้ดำรงชีพอยู่เป็น
สุขทุกเมื่อเถิด
กะตัง ปุญญะผะลัง มัยหัง สัพเพ ภาคี ภะวันตุ เต.
ขอให้สัตว์ทั้งหลาย จงได้เสวยผลบุญ ที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญด้วยกาย วาจา ใจ
แล้วนั้นเทอญ.
ทำวัตรเย็น
(นำ) อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ (กราบ)
ปุพพะภาคะนะมะการะ
(ผู้นำว่า) หันทะทานิ มะยันตัง ภะคะวันตัง วาจายะ อะภิคายิตุง ปุพพะภาคะนะมะการัญ เจวะ พุทธานุสสะตินะยัญจะ กะโรมะ เส
(รับ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ ครั้ง)
พุทธานุสสะติ
ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัลยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต, อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู, อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.
พุทธาภิคีติ
(ผู้นำว่า) หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส
(รับ) พุทธะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต,
สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต,
โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร,
วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง,
พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
พุทธัสสาหัสมิ ทาโส (สี) วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร,
พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
วันทันโต (ตี) หัง จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง,
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน,
พุทธัง เม วันทะมาเนนะ (นายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
(หมอบกราบลงว่า)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตังมะยายัง
พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ.
ธัมมานุสสะติ
(ผู้นำว่า) หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส
(รับ) สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.
ธัมมาภิคีติ
(ผู้นำว่า) หันทะ มะยัง ธัมมาภิคิติง กะโรมะ เส
(รับ) สะวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย,
โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท,
ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี,
วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง,
ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ธัมมัสสาหัสมิ ทาโส (สี) วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร,
ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
วันทันโต (ตี) หัง จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง,
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง,
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน,
ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ (นายะ) ยังปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
(หมอบกราบลงว่า)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสาวา,
ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตังมะยายัง
ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม.
สังฆานุสสะติ
(ผู้นำว่า) หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส
(รับ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย, อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.
สังฆาภิคีติ
(ผู้นำว่า) หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส
(รับ) สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต,
โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ,
สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต,
วันทามะหัง ตะมะริยานะ คะณัง สุสุทธัง,
สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
สังฆัสสาหัสมิ ทาโส (สี) วะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร,
สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
วันทันโต (ตี) หัง จะริสสามิ สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง,
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน,
สังฆัง เม วันทะมาเนนะ (นายะ) ยังปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
(หมอบกราบลงว่า)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสาวา,
สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตังมะยายัง
สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ.
อะตีตะปัจจะเวกขะณะวิธี
(ผู้นำว่า) หันทะ มะยัง อะตีตะปัจจะเวกขะณะ ปาฐัง ภะณามะ เส
(รับ) อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตวา ยัง จีวะรัง ปะริภุตตัง, ตัง ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ, อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ, ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ, ยาวะเทวะ หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถัง ฯ
อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตวา โย ปิณฑะปาโต ปะริภุตโต, โส เนวะ ทวายะ นะ มะทายะ นะ มัณฑะนายะ นะ วิภูสะนายะ, ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา ยาปะนายะ วิหิงสุปะระติยา พรัหมะจะริยานุคคะหายะ, อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ, ยาตรา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติ ฯ
อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตวา ยัง เสนาสะนัง ปะริภุตตัง, ตัง ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ, อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ, ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ, ยาวะเทวะ อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง ปะฏิสัลลานารามัตถัง ฯ
อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตวา โย คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขาโร ปะริภุตโต, โส ยาวะเทวะ อุปปันนานัง เวยยาพาธิกานัง เวทะนานัง ปะฏิฆาตายะ, อัพยาปัชฌะปะระมะ ตายาติ ฯ
กายะคะตาสะติภาวนา
อะยัง โข เม กาโย กายของเรานี้แล
อุทธัง ปาทะตะลา เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา
อะโธ เกสามัตถะกา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป
ตะจะปะริยันโต มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ
ปุโร นานัปปะการัสสะ อะสุจิโน เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ
อัตถิ อิมัสมิง กาเย มีอยู่ในกายนี้
เกสา คือผมทั้งหลาย โลมา คือขนทั้งหลาย
นะขา คือเล็บทั้งหลาย ทันตา คือฟันทั้งหลาย
ตะโจ คือหนัง มังสัง คือเนื้อ
นะหารู คือเอ็นทั้งหลาย อัฏฐิ คือกระดูกทั้งหลาย
อัฏฐิมิญชัง เยื่อในกระดูก วักกัง ม้าม
หะทะยัง หัวใจ ยะกะนัง ตับ
กิโลมะกัง ผังผืด ปิหะกัง ไต
ปัปผาสัง ปอด อันตัง ไส้ใหญ่
อันตะคุนัง ไส้น้อย อุทะริยัง อาหารใหม่
กะรีสัง อาหารเก่า มัตถะเก มัตถะลุงคัง เยื่อในสมองศีรษะ
ปิตตัง น้ำดี เสมหัง น้ำเสลด
ปุพโพ น้ำเหลือง โลหิตัง น้ำเลือด
เสโท น้ำเหงื่อ เมโท น้ำมันข้น
อัสสุ น้ำตา วะสา น้ำมันเหลว
เขโฬ น้ำลาย สิงฆาณิกา น้ำมูก
ละสิกา น้ำไขข้อ มุตตัง น้ำมูตร
เอวะมะยัง เม กาโย กายของเรานี้อย่างนี้
อุทธังปาทะตะลา เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา
อะโธ เกสามัตถะกา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป
ตะจะปะริยันโต มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ
ปุโร นานัปปะการัสสะ อะสุจิโน เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ
อย่างนี้แล
อานุรักขกัมมัฏฐาน
พุทธานุสสะติ เมตตา จะ, อะสุภัง ภาวนาทั้ง ๔ นี้, คือพุทธานุสสะติ ระลึกถึงพระ
มะระณัสสะติ, อิจจิมา จะตุรารักขา, พุทธเจ้า, เมตตา ปรารถนาให้เป็นสุข, อะสุภะ,
กาตัพพา จะ วิปัสสะนา, พิจารณากายให้เห็นเป็นของไม่งาม, มะระณะสติ,
ระลึกถึงความตาย, ชื่อว่าจตุรารักข์ และวิปัสสนา
อันพึงบำเพ็ญ,
วิสุทธะธัมมะสันตาโน, อะนุตตะรายะ พระพุทธเจ้ามีพระสันดานอันบริบูรณ์ด้วยพระ
โพธิยา, โยคะโต จะ ปะโพธา จะ, ธรรมอันบริสุทธิ์, อันสัตว์โลกรู้อยู่ว่าพุทโธๆ ดังนี้
พุทโธ พุทโธติ ญายะเต, เพราะพระปัญญาตรัสรู้อย่างเยี่ยม, เพราะทรงชัก
โยงหมู่สัตว์ไว้ในธรรมปฏิบัติ, และเพราะทรง
ปลุกใจหมู่สัตว์ให้ตื่นอยู่
นะรานะระติรัจฉานะ เภทา สัตตา สัตว์ทั้งหลาย, ต่างโดยมนุษย์ อมนุษย์ และ
สุเขสิโน, สัพเพปิ สุขิโน โหนตุ, ดิรัจฉาน, เป็นผู้แสวงหาความสุข, ขอให้สัตว์
สุขิตัตตา จะเขมิโน, เหล่านั้นแม้ทั้งสิ้น, จงเป็นผู้ถึงซึ่งความสุข, และ
เป็นผู้เกษมสำราญ เพราะถึงซึ่งความสุขเถิด,
เกสะ โลมาทิฉะวานัง อะยะเมวะ กายนี้แล เป็นที่ประชุมแห่งซากศพ มีผมขน
สะมุสสะโย, กาโย สัพโพปิ เชคุจโฉ เป็นต้น, แม้ทั้งสิ้น, เป็นของน่าเบื่อหน่าย, เป็น
วัณณาทิโต ปะฏิกกุโล, ปฏิกกูลโดยส่วน มีสี เป็นต้น,
ชีวิตินทริยุปัจเฉทะ สังขาตะมะระณัง สิยา, ความตาย, กล่าวคือความแตกขาดแห่งชีวิต
สัพเพ สังปิธะ ปาณีนัง ตัณหิ ธุวัง นะ อินทรีย์ พึงมีแด่สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้แม้ทั้งสิ้น,
ชีวิตัง. เพราะว่าความตายเป็นของเที่ยง ชีวิตความเป็น
อยู่เป็นของไม่เที่ยงแล ฯ
นมัสการพระพุทธบาท ๕ สถาน
วันทามิ พุทธัง ภะวะปาระติณณัง ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพุทธเจ้าผู้ข้ามพ้นฝั่งแห่งภพ,
ติโลกะเกตุง ติภะเวกะนาถัง ผู้เป็นธงชัยของไตรโลก ผู้เป็นนาถะเอกของไตรภพ,
โย โลกะเสฏโฐ สะกะลัง กิเลสัง ผู้ประเสริฐในโลก ตัดกิเลสทั้งสิ้นได้แล้ว ช่วยปลุกชน
เฉตวา นะ โพเธสิ ชะนัง อะนันตัง, หาที่สุดมิได้ให้ตรัสรู้มรรคผลและนิพพาน,
ยัง นัมมะทายะนะทิยา ปุลิเน จะตีเร, รอยพระบาทใดอันพระพุทธองค์ ได้ทรงแสดงไว้,
ในหาดทรายแทบฝั่งแม่น้ำนัมมะทา,
ยัง สัจจะพันธะคิริเกสุมะนา จะลัคเค, รอยพระบาทใดอันพระพุทธองค์ ได้ทรงแสดงไว้,
เหนือยอดเขาสัจจะพันธ์ และเหนือยอดเขาสุมะนา,
ยัง ตัตถะ โยนะกะปุเร มุนิโน จะ ปาทัง รอยพระบาทใดอันพระพุทธองค์ ได้ทรงแสดงไว้,
ตัง ปาทะลัญชะนะ มะหัง สิระสา ในเมืองโยนะกะ ข้าพเจ้าขอนมัสการพระบาท และ
นะมามิ, รอยพระบาทนั้น ๆ ของพระมุนีด้วยเศียรเกล้า,
สุวัณณะมาลิเก, สุวัณณะปัพพะเต, ข้าพเจ้าขอนมัสการสถานที่มีรอยพระบาท, อัน
สุมะนะกูเฏ โยนะกะปุเร นัมมะทายะ ประเสริฐ ๕ สถานแต่ที่ไกล, คือที่เขาสุวรรณมาลิก ๑
นะยะทิยา, ปัญจะปาทะวะรัง ฐานัง ที่เขาสุวรรณะบรรพต ๑, ที่ยอดเขาสุมะนะกูฏ ๑,
อะหัง วันทามิ ทูระโต, ที่โยนะกะบุรี ๑, ที่แม่น้ำชื่อนัมมะทา ๑,
อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง ข้าพเจ้าขอนมัสการอยู่ซึ่งพระรัตนตรัยใดๆ อันบุคคล
นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง ควรไหว้โดยส่วนยิ่ง, อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้,
ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง ได้แล้วซึ่งกองบุญอันไพบูลย์,
ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโย ขออานุภาพแห่งพระรัตนตรัยนั้นจงขจัดภัยอันตรายเสียเถิด,
อามันตะยามิ โว ภิกขะเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอเตือนท่านทั้งหลาย
ปะฏิเวทะยามิ โว ภิกขะเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอให้ท่านทั้งหลายทราบไว้ว่า
ขะยะวะยะธัมมา สังขารา สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา,
อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ ขอให้ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ตน และประโยชน์
ท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด,
อิติ. ด้วยประการฉะนี้แล ฯ
ปัตติทานคาถา (แปล)
คาถากรวดน้ำ
พระราชนิพนธ์ ในราชกาลที่ ๔
ปุญญัสสิทานิ กะตัสสะ ยานัญญานิ ขอให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ
กะตานิ เม, เตสัญจะ ภาคิโน โหนตุ จงเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำในบัดนี้
สัตตานันตาปปะมาณะกา, แลแห่งบุญทั้งหลายอื่นที่ข้าพเจ้าได้ทำแล้ว,
เย ปิยา คุณะ วันตา จะ คือชนเหล่าใดเป็นที่รัก ผู้มีคุณ
มัยหัง มาตาปิตาทะโย มีมารดาและบิดาของข้าพเจ้าเป็นต้น
ทิฏฐา เม จาปยะทิฏฐา วา ที่ข้าพเจ้าได้เห็นหรือแม้ไม่ได้เห็น
อัญเญ มัชฌัตตะเวริโน สัตตา ติฏฐันติ แลสัตว์ทั้งหลายอื่นที่เป็นกลาง แลมีเวรกันตั้งอยู่
โลกัสมิง, ในโลก,
เตภุมมา จะตุโยนิกา เกิดในภูมิ ๓, เกิดในกำเนิด ๔,
ปัญเจกะจะตุโวการา มีขันธ์ ๕ แลขันธ์ ๑ แลขันธ์ ๔,
สังสะรันตา ภะวาภะเว ท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อย แลภพใหญ่
ญาตัง เย ปัตติทานัมเม สัตว์เหล่าใดทราบการให้ส่วนบุญของข้าพเจ้าแล้ว
อนุโมทันตุ เต สะยัง ขอให้สัตว์เหล่านั้นจงอนุโมทนาเองเถิด
เย จิมัง นัปปะชานันติ ก็สัตว์เหล่าใด ย่อมไม่ทราบการให้ส่วนบุญของข้าพเจ้านี้
เทวา เตสัง นิเวทะยุง ขอให้เทพทั้งหลายพึงแจ้งแก่สัตว์เหล่านั้น
มะยะ ทินนา นะ ปุญญานัง เพราะเหตุคืออนุโมทนาบุญทั้งหลายที่ข้าพเจ้าให้
อะนุโมทะนะเหตุนา แล้ว
สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ อะเวรา ขอให้สัตว์ทั้งปวง จงอย่ามีเวร อยู่เป็นสุข
สุขะชีวิโน, เสมอเถิด
เขมัปปะทัญจะ ปัปโปนตุ แลจงถึงทางอันเกษมเถิด
เต สาสา สิชฌะตัง สุภา. ขอความหวังอันดีของสัตว์เหล่านั้นจงสำเร็จเทอญ
ปกิณณกคาถา
อุปะนียะติ โลโก, โลก คือหมู่สัตว์อันชราต้อนไปอยู่,
อัท ธุโว, เป็นผู้ไม่ยั่งยืน,
อะตา โณ โลโก, โลกไม่มีผู้ต่อต้าน,
อะนะภิสสะ โร, ไม่มีผู้เป็นยิ่งใหญ่,
อัสสะโก โลโก, โลกไม่มีสิ่งเป็นของๆ ตน,
สัพพัง ปะหายะ คะมะนียัง, จำจะละทิ้งสิ่งทั้งสิ้นแล้วต้องไป,
อุโณ โลโก, โลกยังพร่องอยู่,
อะติตโต, เป็นผู้ยังไม่อิ่ม ไม่เบื่อ
ตัณหา ทาโส, จึงต้องเป็นทาสแห่งตัณหา,
ภาราหะเว ปัญจักขันธา, ปัญจขันธ์ทั้งหลายเป็นภาระจริงๆ
ภาราหาโร จะ ปุคคะโล, แต่บุคคลก็ยังยึดถือภาระไว้,
ภาราทานัง ทุกขัง โลเก, แท้จริง, การยึดถือภาระในโลกเป็นความทุกข์,
ภาระ นิกเขปะนัง สุขัง, การปล่อยวางภาระเสียได้เป็นความสุข,
นิกขิปิต วา คะรุง ภารัง, ครั้นปล่อยวางภาระอย่างหนักได้แล้ว,
อัญญัง ภารัง อะนาทิยะ, ไม่ยึดถือซึ่งภาระอย่างอื่นไว้,
สะมุลัง ตัณหัง อัพภุยหะ, เป็นผู้รื้อถอนตัณหากับทั้งมูลรากได้แล้ว,
นิจฉาโต ปะรินิพพุโต ติ, เป็นผู้หมดอยาก, ดับเพลิงกิเลสและเพลิงทุกข์
ได้แล.
วิธีและคำขอบวชพราหมณี ชีปะขาว
เบื้องต้นมีขันธ์ ๘ นุ่งขาวห่มขาว นั่งท่าพรหม ประนมมือ กราบลง ๓ ครั้ง ตั้งนะโม ๓ จบ เปล่งวาจา ดังต่อไปนี้ ไหว้พระย่อๆ
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ (กราบ)
คำขอบวช
เอสาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ปัพพัชชัง มัง ภันเต สังโฆ ธาเรตุ, อัชชะตัคเค ปานุเปตัง สะระณัง คะตัง,
ทุติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ปัพพัชชัง มัง ภันเต สังโฆ ธาเรตุ, อัชชะตัคเค ปานุเปตัง สะระณัง คะตัง,
ตะติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ปัพพัชชัง มัง ภันเต สังโฆ ธาเรตุ, อัชชะตัคเค ปานุเปตัง สะระณัง คะตัง.
คำลาสิกขาของพราหมณี
สิกขัง ปัจจักขามิ ข้าพเจ้าขอกราบลาสิกขาบท
ทุติยัมปิ สิกขัง ปัจจักขามิ ข้าพเจ้าขอกราบลาสิกขาบท
ตะติยัมปิ สิกขัง ปัจจักขามิ ข้าพเจ้าขอกราบลาสิกขาบท
ขอสงฆ์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นคฤหัสถ์แล้ว.
คำอาราธนาศีลอุโบสถ
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ,
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ,
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ.
คำสมาทานอุโบสถศีล
อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ.
คำแปล
ข้าพเจ้าสมาทานอุโบสถศีล ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้แล้วนี้ อันประกอบด้วย องค์ ๘ ประการ ดังที่ได้สมาทานมาแล้วนี้ เพื่อจะรักษาไว้ให้ดี มิให้ขาด มิให้ทำลาย สิ้นวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ณ เวลาวันนี้ ฯ
คำอาราธนาศีล ๘
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.
คำอาราธนาศีล ๕
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ.
คำนมัสการ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
บทพระไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
สะระณะคะมะณัง นิฏฐิตัง (รับว่า อามะ ภันเต)
ศีลอุโบสถ และ ศีล ๘
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะพรัหมะจริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
นัจจะ คีตะ วาทิตะ วิสูกะทัสสะนะ มาลาคันธะ วิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
คำนมัสการ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
บทพระไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
สะระณะคะมะณัง นิฏฐิตัง (รับว่า อามะ ภันเต)
ศีล ๕
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
คำอาราธนาพระปริตร
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา,
สัพพะทุกขะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง ฯ
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา,
สัพพะภะยะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง ฯ
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา,
สัพพะโรคะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง ฯ
คำแปล
ขอพระสงฆ์ทั้งหลาย จงสวดพระปริตรอันเป็นมงคล เพื่อป้องกันความวิบัติ เพื่อความ สำเร็จในสมบัติทั้งปวง และเพื่อให้ทุกข์ทั้งปวงพินาศไป เพื่อให้ภัยทั้งปวงพินาศไป เพื่อให้โรค ทั้งปวงพินาศไป ฯ
ชุมนุมเทวดา
สะมันตา จักกะวาเฬสุ อัตราคัจฉันตุ เทวะตา, สัทธัมมังมุนิราชัสสะ สุณันตุ สัคคะโมก ขะทัง, สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิคะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน, ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุ วะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต, ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพ พะนาคา, ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ,
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา,
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา,
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา.
คำถวายทาน
อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสีละวันตัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสีละวันโต อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ภัตตาหาร กับทั้งเครื่องบริวารทั้ง หลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุผู้เจริญ ขอพระภิกษุผู้เจริญ จงรับซึ่งภัตตาหาร กับทั้งเครื่องบริวารทั้ง หลายเหล่านี้ ของพวกข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดสิ้นกาลนาน เทอญ ฯ
คำถวายสังฆทาน
อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ภัตตาหาร กับทั้งเครื่องบริวาร ทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับซึ่งภัตตาหาร กับทั้งเครื่องบริวารทั้ง หลายเหล่านี้ ของพวกข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดสิ้นกาลนาน เทอญ ฯ
คำถวายมะตะกะภัตต์
อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ มะตะกะภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ภัตตานิ มะตะกะภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย มะตะกะภัตต์ กับทั้งเครื่อง บริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับซึ่งมะตะกะภัตต์ กับทั้งเครื่อง บริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของพวกข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ผู้ล่วงลับ ไปแล้วมี นาย / นาง …. เป็นต้น และแก่พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดสิ้นกาลนาน เทอญ ฯ
คำถวายผ้าวัสสิกสาฏก (ผ้าอาบน้ำฝน)
อิมานิ มะยัง ภันเต วัสสิกะสาฏิกานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ วัสสิกะสาฏิกานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าอาบน้ำฝน กับทั้งเครื่อง บริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับซึ่งผ้าอาบน้ำฝน กับทั้งเครื่อง บริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของพวกข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ และความสุข แก่พวกข้าพเจ้า ทั้งหลาย ตลอดสิ้นกาลนาน เทอญ ฯ
คำถวายผ้าจำนำพรรษา
อิมานิ มะยัง ภันเต วัสสาวาสิกะจีวะรานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ วัสสาวาสิกะจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าจำนำพรรษา กับทั้งเครื่อง บริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับซึ่งผ้าจำนำพรรษา กับทั้ง เครื่องบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของพวกข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่พวก ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดสิ้นกาลนาน เทอญ ฯ
คำถวายผ้าป่า
อิมานิ มะยัง ภันเต ปังสุกุลละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ปังสุกุลละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งเครื่อง บริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับซึ่งผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งเครื่อง บริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของพวกข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่พวกข้าพเจ้า ทั้งหลาย ตลอดสิ้นกาลนาน เทอญ ฯ
คำถวายผ้ากฐิน
อิมัง ภันเต, สะปะริวารัง กะฐินะจีวะระทุสสัง สังฆัสสะ, โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต, สังโฆ, อิมัง สะปะริวารัง, กะฐินะจีวะระทุสสัง ปะฏิคคัณหาตุ ปะฏิคคะเหตวา, จะ อิมินา, ทุสเสนะ กะฐินัง, อัตถะระตุ, อัมหากัง, ฑีฆะรัตตัง, หิตายะ สุขายะ ฯ
คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้ากฐิน กับทั้งเครื่องบริวาร ทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับซึ่งผ้ากฐิน กับทั้งเครื่องบริวารทั้ง หลายเหล่านี้ รับแล้วจงกรานกฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดสิ้นกาลนาน เทอญ ฯ
คำถวายเสนาสนะ
อิมานิ มะยัง ภันเต เสนาสะนานิ อาคะตานาคะตัสสะ จาตุททิสัสสะ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ เสนาสะนานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย เสนาสะนะ แก่พระภิกษุสงฆ์ผู้ อยู่ในทิศทั้ง ๔ ที่มาแล้วก็ดี และยังไม่มาก็ดี ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับเสนาสนะเหล่านี้ ของพวก ข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดสิ้นกาลนาน เทอญฯ
คำถวายเวจกุฎี
มะยัง ภันเต เวจจะกุฎิง อาคะตานาคะตัสสะ จาตุททิสัสสะ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมัง เวจจะกุฎิง ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย เวจกุฎีหลังนี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ผู้อยู่ในทิศทั้ง ๔ ที่มาแล้วก็ดี และยังไม่มาก็ดี ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับเวจกุฎีหลังนี้ ของพวก ข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดสิ้นกาลนาน เทอญ ฯ
คำปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณคมน์
เอสาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, (ชายว่า อุปาสะกัง, หญิงว่า อุปาสิกัง) มัง สังโฆ ธาเรตุ, อัชชะตัคเค ปานุเปตัง สะระณัง คะตัง.
คำแปล
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว กับทั้งพระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสะระณะที่พึ่งที่นับถือ ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็น (ชายว่า อุบาสก, หญิงว่า อุบาสิกา) ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
คำขอขมาพระเถระ
เถเร ปะมาเทนะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต (๓ หน) ถ้าขอขมาต่ออาจารย์ พึงว่า อาจาริเย แทน เถเร ถ้าขอขมาคนเดียว ว่า เม แทนโน
ผู้รับขอขมากล่าวตอบดังนี้
อะหัง ขะมามิ ตุมเหหิ ปิ เม ขะมิตัพพัง
(ผู้ขอหมอบกราบลงว่า ขะมามะ ภันเต ผู้ขอขมาคนเดียว ว่า ตะยา แทน ตุมเหหิ)
คำกรวดน้ำ (อิมินา)
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายา คุณุตตะรา, อาจาริยูปะการา จะ มาตาปิตา จะ ญาตะกา, ปิยา มะมัง สุริโย จันทิมา ราชา คุณะวันตา นะราปิ จะ, พรัหมะมารา จะ อินทา จะ โลกะปาลา จะ เทวะตา, ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ, สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ปุญญานิ ปะกะตานิ เม, สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง.
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อิมินา อุททิเสนะ จะ, ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ ตัณหุปาทานะ เฉทะนัง, เย สันตาเน หินา ธัมมา ยาวะ นิพพานะโต มะมัง, นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว, อุชุจิตตัง สะติปัญญา สัลเลโข วิริยัมหินา, มารา ละภันตุ โนกาสัง กาตุญจะ วิริเยสุเม, พุทธา ทิปะวะโร นาโถ ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม, นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง, เต โสตตะ มา นุภาเวนะ มาโรกาสัง ละภันตุ มา.
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยเดชะกุศลผลบุญแห่งข้าพเจ้าได้อุทิศไปนี้ ขอจงไปค้ำชู อุดหนุน บิดา มารดา ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ พระมหากษัตริย์ ญาติสนิท มิตรสหาย สัตว์น้อย ใหญ่ พระภูมิเจ้าที่ เจ้ากรุงพาลี พระนางธรณี พระนางคงคา พญามัจจุราช นายนิรยบาล นายพันธุละเสนาบดี ศิริคุตอำมาตย์ กับทั้งท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ชั้นจาตุมมหาราชิกา เบื้องบนจนถึงที่สุดมหาพรหม เบื้องต่ำตั้งแต่อเวจีขึ้นมาจนถึงมนุษยโลก โดยรอบสุดขอบ จักรวาล อนันตจักรวาล ท่านทั้งหลายที่ต้องทุกข์ ขอให้พ้นจากทุกข์ ท่านทั้งหลายที่ได้สุข ขอให้สุขยิ่งๆ ขึ้นไป ด้วยเดชะกุศลผลบุญแห่งข้าพเจ้าได้อุทิศไปนี้ ขอจงเป็นอุปนิสัย และเป็น ปัจจัยเพื่อจะทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ขอจงสมดังปณิธาน ของข้าพเจ้าทั้งหลายทุกประการ เทอญ ฯ
ภิกษุไม่ควรฉันเนื้อ ๑๐ อย่าง คือ
๑. เนื้อมนุษย์ ๒. เนื้อช้าง
๓. เนื้อม้า ๔. เนื้อสุนัข
๕. เนื้องู ๖. เนื้อราชสีห์
๗. เนื้อหมี ๘. เนื้อเสือโคร่ง
๙. เนื้อเสือดาว ๑๐. เสือเหลือง
ทำกัปปิยะ
มีพระพุทธานุญาตให้บริโภคผลไม้ ด้วยสมณกัปปะกรรม ที่ควรแก่สมณะ ๕ คือ
๑. ผลจดด้วยไฟ
๒. ผลจดด้วยศัสตรา
๓. ผลจดด้วยเล็บ
๔. ผลไม้ไม่มีพืช
๕. ผลมีพืชจะพึงปล้อนเสียได้
พืช มีรากไม้เป็นต้น ซึ่งเกิดอยู่ในที่ชื่อว่า ภูตคาม เป็นวัตถุแห่งปาจิตตีย์ พืชนั้นเมื่อพราก ให้พ้นจากที่แล้ว ชื่อว่า พีชคาม เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ พีชคามนั้น เมื่อจะบริโภค พึงบังคับ อนุปสัมบันว่า “ กัปปิยัง กะโรหิ ” ท่านจงทำกัปปิยะ ดังนี้เสียอีกแล้วจึงบริโภค เมื่อเป็นเช่นนี้ ชื่อว่าให้พ้นจาก พีชคาม ก็แลจะทำกัปปิยะนั้น พึงทำด้วยไฟหรือศัสตรา หรือเล็บ โดยการจด หรือแทงหรือตัดด้วยจงอย เข้าในประเทศอันหนึ่งแห่งพืชนั้น ในทางปฏิบัติมักให้อนุปสัมบัน ใช้เล็บจิกหรือเด็ดให้ขาด กล่าวว่า “ กัปปิยัง ภันเต ” ทำกัปปิยะผลมะขวิด เป็นต้น พืชข้างในหลุดจากกะลาคลอนอยู่ พึงให้ต่อยออกทำกัปปิยะ ถ้าติดกันอยู่ไซร้ จะทำแม้ใน กะลาก็ควร ก็แลผลอันใดเป็นของอ่อนไม่มีพืช และผลใดที่มีพืชปล้อนออกเสียบริโภคได้ กิจที่จะทำกัปปิยะในผลไม้นั้นไม่มี.