แผนการสอน พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

      ปิดความเห็น บน แผนการสอน พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

แผนการจัดการเรียนรู้ พระพุทธศาสนา ชั้น ม 2

– เป็นแผนการสอนพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

– เป็นไฟล์ microsoft office word  41 หน้า

– มีทั้งหมด 16 คาบเรียน ตลอดทั้ง ปี (2 ภาคเรียน)

– พร้อมใบความรู้พระพุทธศาสนาประกอบการเรียนการสอน

ตัวอย่างแผนการสอน พระพุทธศาสนา ม. 2

ใบความรู้ที่  1

เรื่อง  ประวัติความเป็นมาและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน

จุดประสงค์นำทาง      บอกเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเพื่อนบ้านได้

ความเป็นมาและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน

            หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้ทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนายังแว่นแคว้นต่าง ๆ ในประะเทศอินเดีย  จนทำให้พระพุทธศาสนาประดิษฐานเป็นปึกแผ่น มีพุทธบริษัท 4  ซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาต่อมา

            หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน  เหล่าสาวกก็ได้สืบทอดพระพุทธศาสนาติดต่อกันมาไม่ขาดสาย แม้บางครั้งจะได้รับความกระทบกระเทือนจากภัยหรือผลกระทบทั้งภายในและภายนอก  เหล่าสาวกก็ได้ช่วยกันสะสางรักษาพระธรรมวินัยให้หยั่งยืนมาจากถึงทุกวันนี้ 

            การที่เหล่าสาวกได้เอาใจใส่ชำระพระธรรมวินัย ซึ่งเรียกกันว่า  “สังคายนาพระธรรมวินัย”  ได้กระทำกันสืบต่อมาตั้งแต่หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน จนถึงปัจจุบัน  ซึ่งว่าโดยรวมแล้วการสังคายนาตามที่ผู้รู้ได้บันทึกไว้  มีด้วยกัน  9  ครั้ง  คือ

            ครั้งที่  1   กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา  ข้างเขาเวภารบรรพต  ใกล้กรุงราชคฤห์  ประเทศอินเดีย

   หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานล่วงแล้ว ได้  3  เดือน 

   มีพระอรหันต์เข้าประชุมกัน  500  รูป

   กระทำอยู่  7  เดือน  จึงสำเร็จ

   ประธานฝ่ายสงฆ์  พระมหากัสสปะ  องค์อุปถัมภ์   พระเจ้าอชาตศัตรู  กษัตริย์มคธ

                            สาเหตุ  พระมหากัสสปะเถระปรารถถ้อยคำของภิกษุชื่อสุภัททะ  ผู้บวชเมื่อแก่ เมื่อรู้ข่าวปรินิพพานของพระพุทธเจ้าแล้ว ภิกษุทั้งหลายร้องไห้เศร้างโศก  แต่เธอกลับพูดว่าต่อไปนี้จะทำอะไรก็ได้ตามใจ ไม่ต้องมีใครมาคอยชี้ว่า นี่ผิด นี่ถูก นี่ควร นี่ไม่ควร ต่อไปอีก

            ครั้งที่  2   กระทำวาลิการาม  เมืองเวสาลี  แคว้นวัชชี  ประเทศอินเดีย 

                          หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้  100  ปี  ( พ.ศ. 100 )

                          มีพระสงฆ์ประชุมกัน  700  รูป  

                           กระทำอยู่  8 เดือนจึงแล้วเสร็จ

                              ประธาน ฝ่ายสงฆ์  พระสัพพกามีเถระ   พระเจ้ากาฬาโศกราช กษัตริย์ผู้ครองนครปาฏลิบุตร  แคว้นมคธ 

                           สาเหตุ   ปรารภข้อปฏิบัติย่อหย่อน 10 ประการทางพระวินัยของพระภิกษุวัชชีบุตร  เช่น ล่วงเที่ยงไปแล้วมีเงาแดดบ่าย 2 นิ้ว  ยังฉันอาหารได้  ภิกษุรับเงินและทองได้ เก็บเกลือไว้ฉันกับอาหารได้ ฯ

            สังคายนาครั้งนี้  มีผลดีที่สามารถรักษาพระธรรมวินัยไม่ให้ภิกษุอลัชชีย่ำยีได้  แต่ว่าภิกษุอลัชชีก็ต้องกองทำสังคายนาขึ้นเหมือนกัน ซึ่งเรียกว่ามหาสังคีติหรือมหาสังคายนา  ตั้งคณะสงฆ์ขึ้นมาใหม่เรียกว่าหมาสังฆิกะ  ซึ่งเป็นต้นเค้ามหายาน  ส่วนคณะของพระสัพพกามี เรียกว่านิกายเถรวาท เพราะดำเนินตามติของพระมหากัสสปะเถระ  ต่อมาคณะสงฆ์ทั้ง 2 นิกายนี้ ได้แตกอกอีกถึง 18  นิกาย

            ครั้งที่  3   กระทำที่อโศการาม  กรุงปาตลีบุตร  นครหลวงแคว้นมคธ (เมืองปัตนะ รัฐพิหาร)

                          หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้  ๒๓๔  หรือ  ๒๓๕  ปี

                          มีพระสงฆ์ประชุมกัน  1,000 รูป 

                          กระทำอยู่  9 เดือนจึงเสร็จ

                          ประธานสงฆ์   พระโมคคัลลีบุตร ติสสเถระ   มีพระเจ้าอโศกราช เป็นองค์อุปถัมภ์

                          สาเหตุ  ปรารภคือพวกเดียรถีย์หรือนักบวชศาสนาอื่นมาปลอมบวช แล้วแสดงลัทธิศาสนาและความเห็นของตนว่าเป็นพระพุทธศาสนา

                        ครั้งที่  4, (พ.ศ. 238 ) 5, (พ.ศ. 433)  6, (พ.ศ. 965)   7, (พ.ศ 1587)   ทำในลังกา  หรือประเทศศรีลังการในปัจจุบัน

                        ครั้งที่  8  ทำในประเทศไทย  วัดโพธาราม   จ.เชียงใหม่ 

                                      พ.ศ.  2020  ทำอยู่    1  ปี  จึงสำเร็จ

                                      มีพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่เป็นองค์อุปถัมภ์

                        ครั้งที่  9  ทำในประเทศไทย   ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์  กรุงรัตนโกสินทร์ 

                                      มีพระสงฆ์  218  ช่วยกันชำระพระไตรปิฏก แล้วจัดให้มีการจารึกลงในใบลาน

                                      ทำอยู่  5  เดือน จึงสำเร็จ                         

            หลังจากสังคายนาครั้งที่  3  พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ส่งพระอรหันต์เป็นสมณฑูตไปประกาศพระพุทธศาสนาทั้งในประเทศอินเดียและนอกประเทศ  9  สาย ดังนี้

            สายที่  1    พระมัชฌันติกเถระ    ไปยังแคว้นคันธาระ (แคว้นแคชเมียร์และประเทศอัฟกานิสถาน)

            สายที่  2   พระมหาเทวะ  ไปยังมหิสสกมณฑล  ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของแม่น้ำโคธาวารี (แคว้นไมเซอร์)

            สายที่  3   พระรักขิตเถระ  ไปยังวนวาสีประเทศ ซึ่งอยู่ในเขตกะระนะ แคว้นบอมเบย์ในปัจจุบัน

            สายที่   4  พระโยนกธรรมรักขิตเถระ ไปยังอปรันตชนบท ซึ่งอยู่ริมฝั่งอารเบีย ทางทิศเหนือของบอมเบย์

            สายที่  5   พระมหาธรรมรักขิตเถระ ไปยังมหารัฐประเทศ  (อันธรประเทศในปัจจุบัน)

            สายที่  6   พระมหารักขิตเถระ  ไปยังโยนกประเทศ (แคว้นแดนอากเตรียนในเปอร์เชีย)

            สายที่  7   พระมัชฌิมเถระ  ไปยังหิมวันตประเทศ  ประเทศเนปาลในปัจจุบัน

            สายที่   8  พระโสณะเถระกับพระอุตตระเถระ  ไปยังดินแดนสุวรรณภูมิ  (ประเทศพม่าและไทย)

            สายที่  9   พระมหินทเถระ  กับนางสังฆมิตตาเถรี  (พระโอรสและธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราช)ไปยังประเทศลังกา

                           การสังคายนาครั้งที่  3  นี้  ได้ส่งผลให้พระพุทธศาสนาได้แพร่หลายไปยันานาประเทศอันรวมถึงประเทศไทยด้วย

            ในจำนวนประเทศที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งสมณฑูตไปเผยแผ่พระศาสนานั้น  ประเทศลังกาถือว่าได้เป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในภายหลัง มีการสร้างวัด วิหาร พระเจดีย์ จัดพิมพ์พระไตรปิฎก  นอกจากนี้ศรีลังกายังเป็นชาติแรกที่ริเริ่มก่อตั้ง “องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พสล.)

(The word Fellowship of Buddhists : WPB)   เมื่อ พ.ศ. 2493   ซึ่งปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทย

ดาวน์โหลดสื่อการสอน

เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....