
ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธประวัติ นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวงวันพฤหัสบดีที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
๑. พุทธประวัติ มีความสำคัญอย่างไรจึงต้องเรียนรู้ ?
เฉลย พุทธประวัติมีความสำคัญในการศึกษาและปฏิบัติพระพุทธศาสนา เพราะแสดงพระพุทธจริยาให้ปรากฏ เช่นเดียวกับตำนานย่อมมีความสำคัญต่อชาติของตน ที่ให้รู้ได้ว่าชาติได้เป็นมาแล้วอย่างไร ฯ
๒. เจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จอุบัติขึ้นในวรรณะใด ? เป็นชนชาติใด ?
เฉลย เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จอุบัติขึ้นในววรณะกษัตริย์ เป็นชนชาติอริยกะ
๓. อาฬารดาบสและอุทกดาบส มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าอย่างไร ?
เฉลย อาฬารดาบสและอุทกดาบส เป็นผู้ที่พระองค์ได้เคยอยู่อาศัยศึกษาลัทธิของท่านทั้ง ๒ ในระยะหนึ่ง
๔. พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมอะไร ? มีอะไรบ้าง ?
เฉลย พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ มี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
๕. ธรรมจักษู ดวงตาเห็นธรรมนั้น คือเห็นว่าอย่างไร ? ได้เกิดขึ้นแก่ท่านผู้ใดเป็นคนแรก ?
เฉลย ธรรมจักษุ คือเห็นว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับเป็นธรรมดา” ฯ ท่านแรกที่ได้ธรรมจักษุคือโกณฑัญญพราหมณ์ ฯ
๖. ปฐมสาวกและปัจฉิมสาวกคือใคร ?
เฉลย ปฐมสาวก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ปัจฉิมสาวก คือ พระสุภัททะ ฯ
๗. สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล คืออะไรบ้าง ?
เฉลย สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ได้แก่ ๑. สถานที่ประสูติ ๒. สถานที่ตรัสรู้๓. สถานที่แสดงปฐมเทศนา ๔. สถานที่ปรินิพพาน
๘. พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญปฏิบัติบูชายิ่งกว่าอามิสบูชา เพราะเหตุไร ?
เฉลย พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญปฏิบัติบูชายิ่งกว่าอามิสบูชาเพราะเมื่อพุทธบริษัทปฏิบัติธรรมได้สมควรแก่ธรรมแล้ว ก็จะเป็นปัจจัยให้ตรัสรู้ธรรมได้ ทั้งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา และเป็นพระพุทธประสงค์หลักในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา อีกทั้งการปฏิบัตินี้จะทำให้ศาสนาตั้งมั่นอยู่ได้ยืนนาน ฯ
ศาสนพิธี
๙. วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กำหนดไว้กี่วัน ? คือวันอะไรบ้าง ?
เฉลย กำหนดไว้ ๔ วัน ได้แก่ วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ฯ (ข้อสังเกต วันที่ลงท้ายด้วยคำว่า บูชา)
๑๐. ปาฏิบุคลิกทานและสังฆทาน ต่างกันอย่างไร ?
เฉลย ปาฏิบุคลิกทาน คือ ทานที่ถวายเจาะจงเฉพาะพระรูปนั้นรูปนี้ ส่วนสังฆทาน คือ ทานที่ถวายไม่เจาะจงพระรูปใด มอบเป็นของกลางไม่เจาะจงสงฆ์ ฯ