ความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน

      ปิดความเห็น บน ความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน

การสร้างสัมพันธไมตรีตามหลักสาราณียธรรม

         สาราณียธรรม หมายถึง ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง หมายถึง มีความปรารถนาดีต่อกัน เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสัมพันธ์ไมตรีระหว่างประเทศได้ ดังนี้

1. เมตตากายกรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วย เมตตา ในประเทศเพื่อนบ้านต่อหน้าและลับหลังหมายถึงการรับแสดงออกซึ่งความเป็นมิตรทางกายที่ดีต่อกันกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งในคราวปกติสุขหรือในคราวที่ประเทศเพื่อนบ้านประสบปัญหาความเดือดร้อนต่างๆเช่น ความแห้งแล้ง แผ่นดินไหว น้ำท่วม เป็นต้นหากประเทศเราได้ส่งสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคไปให้ด้วยความมีจิตเมตตาต่อกัน ประเทศที่ได้รับย่อมเกิดความซาบซึ้งและสำนึกในบุญคุณต่อประเทศของเรา ย่อมที่จะพยายามตอบแทนหรือดำเนินนโยบายต่างประเทศที่เป็นมิตรต่อกัน เอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันและกัน

2. เมตตาวจีกรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเตตา ในประเทศเพื่อนบ้านทั้งต่อหน้าและลับหลัง ด้วยวาจา หมายถึง มีการกระทำทางวาจาที่แสดงออกถึงความปรารถนาดีต่อกัน ไม่กล่าวให้ร้ายและพูดทำลายภาพพจน์ซึ่งกันและกัน หากมีข้อพิพาทระหว่างประเทศเกิดขึ้น การใช้ช่องทางการทูตเจรจากันด้วยเหตุผล ไม่นำกำลังทางทหารเข้าประทุษร้ายซึ่งกันและกัน การกระทำเช่นนี้ย่อมส่งผลให้ประเทศเพื่อนบ้านเกิดความรักความสามัคคีเกิดความระลึกถึงกันในทางที่ดีก่อให้เกิดประโยชน์ความสงบสุข

3. เมตตามโนธรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในประเทศเพื่อนบ้านทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือคิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กันและกัน หมายถึง มีจิตใจปรารถนาดีต่อมิตรประเทศไม่คิดหวาดระแวงซึ่งกันและกันให้คำแนะนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาแก่ประเทศเพื่อนบ้าน

4. แบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้มาด้วยความชอบธรรมแก่มิตรประเทศ ได้แก่ การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งในด้านอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภคเครื่องมือการเกษตร ตลอดจนวิทยาการความรู้ต่างๆให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านรวมตลอดถึงการรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน ไม่ทำลายระบบนิเวศน์สิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่ออีกประเทศหนึ่งเป็นต้น

5. รักษาความประพฤติ(ศีล) เสมอกันกับมิตรประเทศไม่ทำประเทศของตนให้เป็นที่รังเกียจของประเทศอื่นได้แก่ การดำเนินนโยบายต่างประเทศต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันมติสากลหรือหลักการขององค์การสหประชาชาติหรือองค์การระหว่างประเทศไม่ฝ่าฝืนมติหรือหลักการนั้นอันจะก่อให้เกิดความหวาดระแวง ไม่ไว้เนื้อเนื้อเชื่อใจกันและเป็นที่รังเกียจของประเทศเพื่อนบ้านได้

6. มีความเห็นร่วมกันในประเทศอื่นๆ ไม่วิวาทเพราะมีความเห็นผิดกัน ได้แก่ การอยู่ร่วมกับประเทศอื่นๆนั้นเราต้องยอมรับในกฎกติการะหว่างประเทศที่กำหนดไว้ ไม่กระทำตนเสมือนว่าเป็นการฝ่าฝืนมติของสังคมโลกซึ่งในประชาคมโลกนั้น ไม่มีประเทศใดที่จะสามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ แต่ละประเทศต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน การทำฝ่าฝืนติเอารัดเอาเปรียบหรือข่มเหงกีดกันประเทศอื่น มีแต่จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประเทศของตนและไม่มีประเทศใดจะคบค้าสมาคมด้วยธรรมทั้ง 6 ประการนี้ ทำประเทศผู้ประพฤติประปฎิบัติดังกล่าวมาให้เป็นที่เคารพนับถือของประเทศอื่น เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน เป็นไปเพื่อความไม่ทะเลาะวิวาทหรือก่อให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศและเป็นไปเพื่อความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาคมโลก

2. การสร้างสัมพันธไมตรีตามหลักสังคหวัตถุ 4

       สังคหวัตถุ 4 แปลว่า เครื่องยึดเหนี่ยว มีความหมายว่า คุณธรรมเหล้านี้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่นไว้ได้ คือ เป็นเครื่องก่อให้เกิดความสามัคคีกลมเกลียวสนิทสนมยิ่งๆขึ้นและผูกพันให้มั่นคงตลอดไป ซึ่งมีดังต่อไปนี้

1.ทาน   แปลว่า การให้ หมายถึง การแบ่งให้ เฉลี่ยให้ ปันให้ เพื่อแสดงอัธยาศัยไมตรี ผูกสามัคคีกันไว้ เช่น เมื่อมิตรประเทศประสบกับภัยพิบัติ เราก็ควรส่งอาหาร สิ่งของ ยารักษาโรคไปให้ตามกำลังความสามารถของเราหรือในยามประเทศเพื่อนบ้านเป็นปกติสุขเราก็แบ่งปันให้
ความรู้วิทยาการ เงินทุนเครื่องมือทำการเกษตร เป็นต้น การให้ในลักษณะนี้ย่อมเป็นการผูกมิตรไมตรีไว้ได้ เพราะผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของคน
เป็นอันมาก

2. ปิยวาจา   แปลว่า เจรจาอ่อนหวาน หมายถึง พูดคำที่สุภาพ อ่อนโยนและเป็นคำที่มีประโยชน์ที่ผู้ฟังได้ฟังแล้วชื่นใจสบายใจเห็นประโยชน์ในคำพูดนั้น ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น หากแต่ละประเทศรู้จักการใช้ถ้อยคำทางการพูดที่เป็นธรรมแล้วการผิดข้องหมองใจกันระหว่างประเทศก็จะไม่เกิดขึ้นเพราะเพียงคำพูดไม่กี่คำ

3. อัตถจริยา   แปลว่า ประพฤติประโยชน์ หมายความว่า การบำเพ็ญตนให้เป็นคนมีประโยชน์ต่อผู้อื่น ได้แก่การไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประเทศต่างๆและไม่นิ่งดูดายเมื่อประเทศอื่นขอความช่วยเหลือ การสนับสนุนข้อเสนอของมิตรประเทศที่เห็นถูกต้องดีงาม เป็นประโยชน์ต่อประชาคมโลกโดยรวมและการชักนำโน้มนำประเทศที่มีนโยบายที่ผิดพลาดที่มุ่งแสวงหาอำนาจผลประโยชน์หรือเป็นภัยต่อความสงบสุขของโลก ให้หันมามีนโยบายหรือทิศทางที่ถูกต้องชอบธรรม เพื่อความสงบสุขของมนุษยชาติได้

4. สมานัตตา แปลว่า ความเป็นคนมีตนสม่ำเสมอ หมายความว่า ไม่ถือตัว คือไม่หยิ่งจองหองในเมื่อได้ดีมีฐานะ ซึ่งได้แก่การให้ความนับถือประเทศต่างๆมีฐานะศํกดิ์ศรีเท่าเทียมกับประเทศของเรา ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามว่าประเทศนั้นยากจนประเทศนั้นมีพื้นที่และฐานะทางเศรษฐกิจเล็กกว่าประเทศของเรา เป็นต้น ต้องวางตัวให้สมกับฐานะเคยคบหากันเช่นใดก็ควรประพฤติเช่นนั้นทั้งในยามที่ประเทศของเรามีความสำคัญมากขึ้นในเวทีการเมืองระหว่างประเทศหรือในยามที่ประเทศของเราประสบปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาทางเศรษฐกิจ ก็ไม่ทำตนให้ต่ำต้อยน้อยหน้ากว่าประเทศอื่น เป็นต้น

เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....