ปัญหาความรู้นวกภูมิ วิชาวินัย พร้อมเฉลย ปี 2545

      ปิดความเห็น บน ปัญหาความรู้นวกภูมิ วิชาวินัย พร้อมเฉลย ปี 2545

ปัญหาความรู้นวกภูมิ

วิชา  วินัย

สอบในสำนัก………………

สอบ วันที่   ๑๘   ตุลาคม  พ.๒๕๔๕

 

———————————–

๑.      กิจที่ไม่ควรทำของภิกษุมีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง  ?

๒.     อะไร เรียกว่าพระวินัย ?  ภิกษุล่วงละเมิดพระวินัยได้รับโทษอย่างไรบ้าง  ?

๓.     อะไร เรียกว่าอาบัติ ?  ว่าโดยชื่ออาบัติมีกี่อย่าง  ?  จงจัดให้เป็น  ๒  พวก  จัดได้อย่างไร ?

๔.     ไตรสิกขา คืออะไร  ?  ภิกษุล่วงละเมิดในสิกขาเหล่านั้น  ? ท่านให้ปรับอาบัติอะไร ?

๕.     อาบัติปาราชิกมีเท่าไร ?  สิกขาบทไหนต้องเพราะสั่ง ?  สิกขาบทไหน  ไม่ต้องเพราะสั่ง ?

๖.      ภิกษุถูกบังคับให้จับต้องกายหญิง  จะพึงปรับอาบัติอะไรแก่เธอ  ?

๗.     ผ้าที่เรียกว่า  ผ้าไตรจีวรนั้น  เป็นผ้าชนิดไหน  ?

๘.     เภสัช  ๕  คืออะไรบ้าง ? ภิกษุรับประเคนแล้ว พึงเก็บไว้ฉันได้กี่วัน  ?

๙.      พูดอย่างไร  เรียกว่าพูดปด  ?

๑๐.   อะไรเรียกว่า  เสขิยวัตร  ?

 

———————————-

 

ให้เวลา  ๓  ชั่วโมง

 

เฉลยปัญหานวกภูมิ

วิชา  วินัย

สอบ  ณ  …………….ง

วันที่   ๑๘   ตุลาคม  พ.๒๕๔๕

—————————–

๑.      กิจที่ไม่ควรทำของภิกษุ มี  ๔ อย่าง  ๑.  เสพเมถุน   ๒. ลักขโมยทรัพย์ของผู้อื่น  ๓.  ฆ่าสัตว์ที่สุดหมายถึงมนุษย์  ๔.  พูดอวดอุตริมนุสสธรรม ฯ

๒.     พระพุทธบัญญัติและอภิสมาจารทั้ง ๒  รวมเรียกว่าพระวินัย  ภิกษุล่วงละเมิดพระวินัยได้รับโทษ  ๓  สถาน  ๑. ขาดจากความเป็นภิกษุ  ๒.  ต้องอยู่กรรม  ๓.  ต้องประจานตัวต่อหน้าภิกษุด้วยกัน ฯ

๓.     โทษที่เกิดเพราะความละเมิด  ในข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม  เรียกว่าอาบัติ  อาบัตินั้นว่าโดยชื่อมี ๗ อย่าง คือ ปาราชิก ๑  สังฆาทิเสส ๑  ถุลลัจจัย ๑  ปาจิตตีย์ ๑  ปาฏิเทสนียะ ๑ ทุกกฎ ๑  ทุพภาสิต ๑  อาบัติเหล่านี้  จัดได้เป็น ๒ พวก  คือ  อเตกิจฉา  เยียวยาไม่ได้ ๑ สเตกิจฉา  เยียวยาได้ ฯ

๔.     ไตรสิกขา  คือ  ศีล  สมาธิ  ปัญญา   ภิกษุล่วงละเมิดสีลสิกขา  ท่านให้ปรับอาบัติตามวัตถุ  อย่างหนักเป็นปาราชิก  ต้องลงมาเป็นสังฆาทิเสส  ถุจลัจจัย  ปาจิตตีย์  ปาฏิเทสนียะ         ทุกกฎ  ทุพภาสิต ฯ

๕.     อาบัติปาราชิกมี  ๔  สิกขาบท   สิกขาบทที่ ๒ กับที่ ๓  ต้องเพราะสั่ง  สิกขาบทที่ ๑ กับที่ ๔  ไม่ต้องเพราะสั่ง ฯ

๖.      ภิกษุถูกบังคับให้จับต้องกายผู้หญิง  ถ้าเธอจับต้องด้วยมีความกำหนัดยินดี  ควรปรับอาบัติสังฆาทิเสส  ถ้าจับต้องด้วยความจำใจ  ไม่มีความกำหนัดยินดี  ไม่ควรปรับอาบัติอะไรแก่เธอ ฯ

๗.     ผ้าที่เรียกว่า ไตรจีวรนั้น  คือ  สังฆาฏิ ๑  จีวร ๑  สบง ๑  เป็นผ้าที่ภิกษุพินทุอธิษฐานไว้สำหรับตัวเป็นชุดพิเศษ  ซึ่งต่างจากผ้าอติเรกจีวรนั้น ๆ  นี้เรียกว่า  ไตรครอง ฯ

๘.     เภสัช  ๕  คือ  เนยใส  เนยข้น  น้ำมัน  น้ำผึ้ง  น้ำอ้อย  ภิกษุรับประเคนแล้ว  พึงเก็บไว้ฉันได้ ๗ วัน ฯ

๙.      พูดให้คลาดจากความจริง  ด้วยประสงค์จะให้ผู้อื่นเข้าใจผิด  เรียกว่าพูดปด  ฯ

๑๐.   วัตรที่ภิกษุสามเณรจะพึงศึกษา  เรียกว่า  เสขิยวัตร  ฯ

 

—————————-

ดาวน์โหลดสื่อการสอน

เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....