ปัญหาความรู้นวกภูมิ วิชาพุทธ ปี 2546

      ปิดความเห็น บน ปัญหาความรู้นวกภูมิ วิชาพุทธ ปี 2546

ปัญหาความรู้นวกภูมิ

วิชา  พุทธประวัติ

สอบในสำนัก……………………….

สอบ วันที่   ๖   ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๖

———————————–

๑.     ในสมัยก่อนพุทธกาล  แบ่งคนออกเป็นกี่จำพวก ? เรียกว่าอย่างไร ? มีหน้าที่ต่างกันอย่างไร ?

๒.     ใครเป็นผู้ทำนายพระสิทธัตถะว่า  ถ้าเป็นฆราวาสจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าออกผนวชจักเป็นศาสดาเอกในโลก   เขารู้ได้อย่างไร  จึงทำนายเช่นนั้น  ?

๓.     พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมอะไร  ที่ไหน  ในดิถี เดือน และพุทธศักราชเท่าไร ?

๔.     เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว  ทรงทำในพระหฤทัยอย่างไร  จึงได้ตกลงว่าจะประกาศพระศาสนา ?

๕.     พระองค์เทศนาสั่งสอนแก่ใครก่อน  และใครได้เห็นธรรมก่อนและเห็นอย่างไร ?

๖.     ปฐมเทศนาชื่อว่าอะไร  ทรงแสดงเมื่อไร  ที่ไหน ?

๗.     หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว  ใครเป็นศาสดาของพุทธบริษัท  และใครตั้งให้ ?

๘.     พระพุทธศาสนาที่เจริญหรือเสื่อม  เพราะบุคคลประเภทไหน ประพฤติอย่างไร ?

 

ศาสนพิธี

๙.     การบวชในพระพุทธศาสนา  ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน มีกี่วิธี  และวิธีนั้น ๆ เรียกว่าอย่างไร  ปัจจุบันใช้อยู่กี่วิธี  จงอธิบาย ?

๑๐.   ให้เขียนคำอาราธนาศีล  ๕  อาราธนาพระปริตร  อาราธนาธรรม  เป็นคำไทยหรือคำบาลีก็ได้  ?

———————————

ให้เวลา  ๓  ชั่วโมง

 

เฉลยปัญหานวกภูมิ

วิชา  พุทธประวัติ

สอบ  ณ  ……………………………………………

วันที่   ๑๘   ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๖

๑.     แบ่งคนออกเป็น  ๔ จำพวก  เรียกว่า  วรรณะ  ๔  คือ

            กษัตริย์             มีหน้าที่ปกครองรักษาบ้านเมือง

            พราหมณ์         มีหน้าที่ฝึกสอน  และทำพิธีทางศาสนา

            แพศย์              มีหน้าที่ในการทำนา ค้าขาย

            ศูทร                 มีหน้าที่รับจ้าง  กรรมกร

   แต้ถ้าพวกคนที่มีบิดา มารดาต่างวรรณะกัน  มีบุตรออกมา  เรียกว่า  จัณฑาล  จัดเป็นพวกนอกวรรณะ  เขาไม่นิยมนับถือ  ฯ

๒.     อสิตดาบส  เขารู้ได้โดยเห็นพระลักษณะต้องตามคัมภีร์มหาปุริสลักษณะพยากรณ์ศาสตร์ ฯ
๓.     พระองค์ตรัสรู้อริยสัจ ๔  คือ  ทุกข์  สมุทัย  นิโรธ  มรรค  ที่ร่มไม้อัสสัตถพฤกษ์ (โพธิ)  ที่อุรุเวลาประเทศเสนานิคม  ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา  ในปุรณมีเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ  (เดือน ๖)  ก่อนพุทธศักราช  ๔๕ ปี ฯ
๔.     ทรงทำในพระหฤทัยว่า  สัตว์โลกมีอินทรีย์ต่าง ๆ กัน  พอจะรู้ได้ก็มี  พอจะอบรมให้ค่อยรู้ไปก็มี  เหมือนดอกบัวต่างชนิด  ที่ขึ้นพ้นน้ำพอต้องรัศมีพระอาทิตย์จักบานก็มี  น้ำเลี้ยงอยู่จักบานในวันเป็นวันกันไปก็มี  ธรรมที่พระองค์ทรงแสดง คือ  ปฏิบัติโดยลำดับ  คงจะสำเร็จประโยชน์ทันกัน  เว้นเสียแต่คนไม่ใช่เวไนยที่เปรียบด้วยดอกบัวเป็นภักษาหารแห่งสัตว์น้ำ ฯ
๕.     เทศนาสั่งสอนโปรดภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕  ก่อน  พระอัญญาโกณฑัญญะหัวหน้าพวกภิกษุปัญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรม  เห็นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คือสภาพที่ปัจจัยประชุมแต่งทั้งหลาย  ล้วนเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนทั้งสิ้น  มีความเกิดเป็นธรรมดา  สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา ฯ
๖.     ปฐมเทศนาชื่อว่า  ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  ทรงแสดงเมื่อวันเพ็ญ เดือน  ๘   พรรษาแรกที่ตรัสรู้  ทรงแสดงที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  แขวงเมืองพาราณสี 
๗.     พระธรรมวินัย  ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว  ทรงบัญญัติแล้วเป็นศาสดาของเรา  และพระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงตั้งให้ ฯ

๘.        พุทธบริษัทในพระพุทธศาสนานี้เอง  ประพฤติตามพระธรรมวินัยพระพุทธศาสนาก็เจริญ  หากประพฤตินอกพระธรรมวินัย  พระพุทธศาสนาก็เสื่อม ฯ

ดาวน์โหลดสื่อการสอน

เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....