ปัญหาความรู้นวกภูมิ
วิชา วินัยบัญญัติ
สอบในสำนัก
สอบ วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
———————————–
๑. กิจที่ไม่ควรทำของภิกษุมีกี่อย่าง อะไรบ้าง ?
๒. อะไร เรียกว่าพระวินัย ภิกษุล่วงละเมิดพระวินัยได้รับโทษอย่างไรบ้าง ?
๓. อะไร เรียกว่าอาบัติ จงสงเคราะห์อาบัติทั้งหมดให้ลงใน ๒ ประการ ?
๔. อาบัติที่มาในพระปาฏิโมกข์โดยตรง มีกี่อย่าง อะไรบ้าง ?
๕. สมุฏฐานให้เกิดมาอาบัติมีกี่อย่าง อะไรบ้าง ?
๖. อาบัติปาราชิกมีเท่าไร สิกขาบทไหนต้องเพราะสั่ง ? สิกขาบทไหน ไม่ต้องเพราะสั่ง ?
๗. ภิกษุถูกบังคับให้จับต้องกายหญิง จะพึงปรับอาบัติอะไรแก่เธอ ?
๘. ผ้าที่เรียกว่า ผ้าไตรครองนั้น เป็นผ้าชนิดไหน ?
๘. ภิกษุเอาน้ำรดหญ้าหรือดิน ต้องอาบัติอะไรหรือไม่ จงอธิบายตามความเข้าใจ?
๙. พูดอย่างไร เรียกว่าพูดปด ?
๑๐. อะไรเรียกว่าเสขิยวัตร เสขิยวัตรมีเท่าไร ?
———————————-
ให้เวลา ๓ ชั่วโมง
เฉลยปัญหานวกภูมิ
วิชา วินัย
สอบ ณ กรุงเทพมหานคร
วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
—————————–
๑. กิจที่ไม่ควรทำของภิกษุ มี ๔ อย่าง ๑. เสพเมถุน ๒. ลักขโมยทรัพย์ของผู้อื่น ๓. ฆ่าสัตว์ร้ายที่สุดหมายถึงมนุษย์ ๔. พูดอวดอุตริมนุสสธรรม ฯ
๒. พระพุทธบัญญัติและอภิสมาจารทั้ง ๒ รวมเรียกว่าพระวินัย ภิกษุล่วงละเมิดพระวินัยได้รับโทษ ๓ สถาน ๑. ขาดจากความเป็นภิกษุ ๒. ต้องอยู่กรรม ๓. ต้องประจานตัวต่อหน้าภิกษุด้วยกัน
๓. โทษที่เกิดเพราะความละเมิด ในข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม เรียกว่าอาบัติ สงเคราะห์เข้าใน เยียวยาไม่ได้ ๑ สเตกิจฉา ไม่ถึงขาดจากความเป็นภิกษุ ๑ อเตกิจฉา ขาดจากความเป็นภิกษุ ๑ รวมเป็น ๒ ประเภท ฯ
๔. มี ๕ อย่าง คือ ปาราชิก ๑ สังฆาทิเสส ๑ ปาจิตตีย์ ๑ ปาฏิเทสนียะ ๑ และทุกกฏบางข้อ ๑
๕. สมุฏฐานให้เกิดอาบัติว่าโดยตรง มี ๔ อย่าง คือ ลำพังกาย ๑ ลำพังวาจา ๑ กายกับจิต ๑ วาจากับจิต ๑
๖. อาบัติปาราชิกมี ๔ สิกขาบท สิกขาบทที่ ๒ กับที่ ๓ ต้องเพราะสั่ง สิกขาบทที่ ๑ กับที่ ๔ ไม่ต้องเพราะสั่ง ฯ
๗. ภิกษุถูกบังคับให้จับต้องกายผู้หญิง ถ้าเธอจับต้องด้วยมีความกำหนัดยินดี ควรปรับอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าจับต้องด้วยความจำใจ ไม่มีความกำหนัดยินดี ไม่ควรปรับอาบัติอะไรแก่เธอ ฯ
๘. ผ้าไตรครองนั้น คือ สังฆาฏิ จีวร สบง เป็นผ้าที่ภิกษุพินทุ อธิษฐานไว้สำหรับเป็นชุด ซึ่งต่างจาผ้าอติเรกนั้น ๆ นี้ เรียกว่า ไตรครอง ฯ
๙. ภิกษุรู้อยู่ว่าน้ำนั้นมีตัวสัตว์และสัตว์ก็เป็นสัตว์ตัวเล็ก ไม่สามารถอยู่กับดินท่ปราศจากน้ำได้ ถ้าเทลงต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่ถ้าสัตว์นั้นเป็นสัตว์เล็กอาจอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ เช่นนี้เทลงไปไม่เป็นอาบัติ ฯ
๑๐. วัตรที่ภิกษุสามเณรพึงศึกษา เรียกว่า เสขิยวัตร เสขิยวัตรมี ๗๕ ข้อ ฯ
—————————-