การสอนแบบไตรสิกขา

      ปิดความเห็น บน การสอนแบบไตรสิกขา

การสอนแบบไตรสิกขา

ความหมาย

                การสอนแบบไตรสิกขา เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติสิ่งที่เรียนจริงๆ แล้วพิจารณาผลการปฏิบัตินั้นให้เห็นประโยชน์ คุณโทษ ตามความเป็นจริงด้วยตนเอง แล้วนำความรู้นั้นมาเป็นหลักในการปฏิบัติอย่างจริงจัง

ขั้นการสอนแบบไตรสิกขา มี 3 ขั้นดังนี้

ขั้นที่ 1   ศีลให้ผู้เรียนเลือกกระทำผิดหรือถูก ในการตอบสนองสถานการณ์ที่ผู้สอนกำหนดให้

ขั้นที่ 2   กำหนดสมาธิ  เป็นการฝึกขั้นต้นในการควบคุมสติให้ระลึกรู้ อยู่กับลมหายใจ เพื่อความระลึกรู้ แน่วแน่ที่จุดเดียว

ขั้นที่ 3   พิจารณาด้วยปัญญา  เป็นขั้นสุดท้ายหลังจากผ่านการฝึกสมาธิระยะหนึ่งจนสามารถระลึกรู้ แน่วแน่ที่จุดเดียว จึงให้พิจารณาว่าสถานการณ์ที่เลือกกระทำครั้งแรกนั้น เหมาะสมหรือไม่ อะไรผิด อะไรถูก จนสามารถเลือกปฏิบัติได้ถูกต้องเหมาะสมอย่างสมเหตุสมผล

วิธีสอนแบบธรรมไตรสิกขา

บทบาทของครู

                ครูให้หลักการพิจารณาและกระตุ้นให้นักเรียนค้นพบความรู้จากการปฏิบัติตามหลักธรรมด้วยตนเอง ครูคอยชี้จุดสำคัญที่ผู้เรียนพึงพิจารณาและให้กำลังใจ

ขั้นการฝึก

                เน้นให้ผู้เรียนต้องปฏิบัติโดยสำรวม กาย,วาจา และการฝึกจิตให้ตั้งมั่นจนมีระเบียบทางความคิด ความสามรถ คิดเป็นเหตุเป็นผล ได้โดยตลอดดังภาพ

                ๑ หรือ 1 เท่ากับ ศีล

                ๒ หรือ 2 เท่ากับ สมาธิ

                ๓ หรือ 3 เท่ากับ ปัญญา

          ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  และทักษะในกระบวนการทำงานจริงๆ เริ่มตั้งแต่ร่วมคิดแผน การหาข้อมูลอุปกรณ์ต่างๆ การแบ่งเวลางานและร่วมมือกันทำงาน การประสานงานจนกระทั่งการประเมินผลเป็นการฝึกให้ผู้เรียนช่วยตนเองแก้ปัญหาด้วยตนเองมากกว่าพึ่งคนอื่นฝึกให้ร่วมมือประสานงานกัน  ทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ เป็นการฝึกประชาธิปไตย และการอยู่ร่วมกันในสังคมไปด้วยเป็น การฝึกทักษะต่างๆ จากการปฏิบัติงานจริง เช่น ทักษะในการใช้เครื่องมือการหาข้อมูล การทำงานร่วมมือ การตัดสินใจ ฯลฯทำให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์และคุณค่าของการเรียนและผลการเรียนใช้ประโยชน์ในชีวิตได้

ข้อจำกัด

          การสอนวิธีนี้ถ้าครูขาดความสนใจ หรือเอาใจใส่นักเรียนการทำงานอาจล้มเหลวหรือหากครูไม่มีความอดทน อาจไปจัดทำโครงการหรือช่วยเด็กทำงานเสียเอง ทำให้ผิดวัตถุประสงค์ได้ง่ายและการสอนวิธีนี้บางครั้งจะไม่ได้รับเนื้อหาวิชาครบถ้วนตามหลักสูตร

เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....